วันพุธที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562

ระบำศรีวิชัย







ระบำศรีวิชัย
ชื่อ
ระบำศรีวิชัย
ประเภทการแสดงระบำ
ประวัติที่มาระบำศรีวิชัย เป็นระบำชุดที่ ๒ ในระบำโบราณคดี อยู่ในระหว่างพุทธศตวรรษที่
๑๓ – ๑๘ มีอาณาเขตตั้งแต่ภาคใต้ลงไปจนถึงดินแดนของประเทศมาเลเซีย
และอินโดนีเซียยางส่วนปัจจุบัน ระบำศรีวิชัยเกิดขึ้นเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๐๙ ตนกู
อับดุล รามานห์ อดีตนายกรัฐมนตรีมาเลเซีย ได้แต่งเรื่อง Raja Bersiyong
ซึ่งเป็นเรื่องราสเกี่ยวกับอาณาจักรศรีวิชัย และได้เชิญคณะนาฏศิลป์ไทย
ไปแสดงประกอบภาพยนตร์เรื่องนี้ กรมศิลปากรได้จัดการแสดง ๒ ชุด คือ
รำชัดชาตรี และระบำศรีวิชัย โดยระบำศรีวิชัยนี้มอบให้ นางลมุล ยมะคุปต์
ผู้เชี่ยวชาญการสอนนาฏศิลป์ไทย วิทยาลัยนาฏศิลป์ กรมศิลปากร และ
นางเฉลย ศุขะวณิช ผู้เชี่ยวชาญการสอนนาฏศิลป์ไทย วิทยาลัยนาฏศิลป
กรมศิลปากร ศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง (นาฏศิลป์) ปีพุทธศักราช
๒๕๓๐ เป็นผู้ประดิษฐ์ท่ารำ นายมนตรี ตราโมท ผู้เชี่ยวชาญดุริยางค์ไทย
กรมศิลปากร ศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง
       (ดนตรีไทย) ปีพุทธศักราช ๒๕๒๘ เป็นผู้แต่งทำนองเพลง โดยอาศัยหลักฐานจากศิลปกรรมภาพจำหลักที่สถูปบุโรพุทโธในเกาะชวา
ซึ่งเชื่อกันว่าอยู่ในสมัยราชวงศ์ไศเลนทร์ อันเป็นยุคเดียวกันกับสมัยศรีวิชัย สร้างขึ้นในราวปลายคริสต์ศตวรรษที่ ๘ การแต่งทำนองเพลง
กระบวนท่ารำ และเครื่องแต่งกาย ประดิษฐ์ขึ้นจากลักษณะที่ปรากฏอยู่บนภาพจำหลักผสมกับท่วงท่าของนาฏศิลป์ชวา เรียกว่า ระบำศรีวิชัย
และได้นำไปแสดงเพื่อถ่ายทำภาพยนตร์ ณ กรุง กัวลาลัมเปอร์ และนครสิงคโปร์ เมื่อต้นเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๑๐
       ต่อมาในปี พ.ศ.๒๕๑๐ ได้มีการปรับปรุงระบำศรีวิชัยใหม่ทั้งกระบวนท่ารำและทำนองเพลงบางตอน เพื่อให้เข้ากับระบำโบราณคดีอีก ๔ ชุด
สำหรับนำออกแสดงให้ประชาชนชมในงานดนตรีมหกรรม ณ สังคีตศาลา เมื่อวันที่ ๑๒ มีนาคม พ.ศ.๒๕๑๐ และได้แสดงถวายพระบาทสมเด็จ -
พระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ทอดพระเนตรในงานเสด็จพระราชดำเนินทางเปิดการแสดงศิลปะ
โบราณวัตถุในอาคารสร้างใหม่ในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร เมื่อวันที่ ๒๕ พฤษภาคม พ.ศ.๒๕๑๐ โดยมีนายสนิท ดิษฐพันธ์ ออกแบบ
เครื่องแต่งกาย นางชนานันท์ ช่างเรียน สร้างเครื่องแต่งกาย นายชิต แก้วดวงใหญ่ สร้างศิราภรณ์ และเครื่องประดับ


รูปแบบ และลักษณะการแสดง       ระบำศรีวิชัย เป็นการรำหมู่ประกอบด้วยผู้แสดง ๖ คน ท่ารำประดิษฐ์ขึ้นโดยเลียนแบบจากภาพจำหลักผสมกับท่ารำของนาฏศิลป์ชวา ทำให้เกิดความสวยงามของท่ารำที่มีความผสมกลมกลืน และมีลักษณะเฉพาะของการใช้มือ เท้า ศรีษะ
การรำแบ่งเป็นขั้นตอนต่าง ๆ ได้ดังนี้
  • ขั้นตอนที่ ๑
รำออกมาตามทำนองเพลง
  • ขั้นตอนที่ ๒
ทำท่ารำตามกระบวนเพลงช้า และเร็ว จนจบกระบวนท่า
  • ขั้นตอนที่ ๓
ทำท่าจบด้วยการไหว้ในช่วงท้ายของเพลง แล้วรำเข้าเวที
ดนตรี และเพลงที่ใช้ประกอบการแสดง       ใช้วงดนตรีที่มีลักษณะเฉพาะ เครื่องดนตรีประกอบด้วย กระจับปี่
ฆ้อง ๓ ลูก ซอสามสาย ขลุ่ย ตะโพน กลองแขก ฉิ่ง ฉาบ
เพลงที่ใช้ประกอบการแสดง ได้แก่ เพลงศรีวิชัย (เที่ยวช้า และเที่ยวเร็ว)

เครื่องแต่งกาย
       เครื่องแต่งกายของระบำศรีวิชัย ประกอบด้วย

๑. เสื้อรัดอกสีเนื้อ
๒. นุ่งโสร่งปาเต๊ะจีบหน้านางแถวหนึ่งสีเขียว อีกแถวหนึ่งสีแดง
๓. ผ้าคาดรอบสะโพก นุ่งสีแดงคาดสีเขียว นุ่งสีเขียวคาดสีแดง
๔. ผ้าสไบเฉียงสีเดียวกับสีคาดสะโพกเย็บติดกับแผ่นโค้งบนไหล่ซ้าย ติดสร้อยตัวริมแผ่นโค้ง ๒ เส้น
๕. โบว์เส้นเล็กสอดไว้ใต้เข็มขัด
๖. เครื่องประดับ ประกอบด้วย เข็มขัด สร้อยคอ ต่างหู ต้นแขน กำไล ข้อมือ
๗. ศรีษะ เกล้าผมมวยไว้ท้ายทอย ใส่เกี้ยว ปักปิ่น
๘. กระบังหน้า
    
โอกาสที่ใช้แสดง


- งานดนตรีมหกรรมประจำปี
- ถวายทอดพระเนตรในงานเสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดการแสดงศิลปะโบราณวัตถุในอาคารสร้างใหม่
  ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร
- เผยแพร่ให้ประชาชนชม

อ้างอิง
https://www.youtube.com/watch?v=CH8lLfomfDwlhttp://www.finearts.go.th/performing/parameters/km/item/%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%9A%E0%B8%B3%E0%B8%A8%E0%B8%A3%E0%B8%B5%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%8A%E0%B8%B1%E0%B8%A2.html


ระบำเทพบันเทิง






ระบำเทพบันเทิง

ชื่อระบำเทพบันเทิง
ประเภทการแสดงระบำ
ประวัติที่มาระบำเทพบันเทิง เป็นระบำที่นายมนตรี ตราโมท สิลปินแห่งชาติ และผู้เชี่ยวชาญดุริยางคศิลป์ไทย กรมศิลปากร ประพันธ์บทร้อง และบรรจุทำนองเพลง ประกอบการแสดงละครในเรื่องอิเหนา ตอนลมหอบ กล่างถึงองค์ปะตาระกาหลา ผู้ซึ่งเป็นบรมราชอัยการของอิเหนา และบุษบา เมื่อสิ้นพระชนม์แล้ว ไ้ด้เสด็จไปอุบัติเป็นเทพราชาสถิตย์อยู่ ณ วิมาณเมฆ บนสวรรค์ มีเทพบุตร และเทพอัปสรฟ้อนรำนี้ต่อมาเรียกว่า ระบำเทพบันเทิง กรมศิลปากรจัดการแสดงให้ประชาชน ณ โรงละครศิลปากร เมื่อปี พ.ศ.๒๔๙๙ ผู้ประดิษฐ์ท่ารำ คือนางลมุล ยมะคุปต์ ผู้เชี่ยวชาญการสอนนาฏศิลป์ไทย วิทยาลัยนาฏศิลปกรมศิลปากร นางมัลลี คงประภัศร์ และนางศุภลักษณ์ ภัทรนาวิก (หม่อมครูต่วน)
รูปแบบ และลักษณะการแสดง
              ระบำเทพบันเทิง เป็นระบำหมู่ของเทวดา นางฟ้า ที่มีลักษณะท่ารำเป็นการรำตีบทตามบทร้อง เพื่อถวายแด่องค์ปะตาระกาหลา ซึ่งเป็นการรำที่มีความงดงามในลักษณะของการรำคู่ รวมทั้งการใช้ท่าเกี้ยวพาราสีระหว่างพระ และนาง มีการแปรแถวในรูปแบบต่าง ๆ เช่น แถวปากพนัง แถววงกลม และแถวเฉียง เป็นต้น

การรำแบ่งเป็นขั้นตอนต่าง ๆ ได้ดังนี้
  • ขั้นตอนที่ ๑
รำออกตามทำนองเพลงแขกเชิญเจ้า
  • ขั้นตอนที่ ๒
รำตีบทความหมายของบทร้อง 
  • ขั้นตอนที่ ๓
รำเข้าตามทำนองเพลงยะวาเร็ว

 
ดนตรี และเพลงที่ใช้ประกอบการแสดง
ใช้วงปี่พาทย์ไม้นวม เพลงที่ใช้บรรเลงประกอบการแสดง ได้แก่ เพลงแขกเชิญเจ้า และเพลงยะวาเร็ว

เครื่องแต่งกาย
ผู้แสดงแต่งกายยืนเครื่อง พระสวมเสื้อแขนสั้น ศิราภรณ์ชฎายอดชัย นางศิราภารณ์มงกุฏกษัตรีย์
     
บทร้องระบำเทพบันเทิง
- ปี่พาทย์ทำเพลงส่วนนำของเพลงแขกเชิญเจ้า -
- ร้องเพลงแขกเชิญเจ้า -
 
เหล่าข้อพระบาท

ขอฟ้อนกราย
บำเรอปิ่นอมร
ผู้ทรงพระคุณ
เพื่อเทวบดี
เถลิงเทพสีมา
ขอวโรกาส เทวฤทธิ์อดิศร
รำร่ายถวายกร
ปะตาระกาหลา
ยิ่งบุญบารมี
สุขสมรมยา
พิมามสำราญฤทัย
 
- สร้อย -
 
สรุศักดิ์ประสิทธิ์

ทรงสราญพระกาย
ถวายอินทรีย์

ถวายดวงตา
ถ้อยคำอำไพ
ถวายดวงจิต
ที่ทรงการุณย์
ถวายชีวัน
สุรฤทธิ์กำจาย
ทรงสบายพระทัย
ต่างมาลีบูชา
ต่างประทีปจำรัสไข
ต่างธูปหอมจุณจันทน์
อัญชลิตวรคุณ
ผองเข้ามาแต่บรรพ์
รองบาทจนบรรลัย
 
- สร้อย -
- ร้องเพลงยะวาเร็ว -
ร่วมกันร้องทำนองลำนำ (ซ้ำ) มาฟ้อนมารำให้รื่นเริงใจ (ซ้ำ) ให้พร้อมให้ เพรียงเรียงระดับ เปลี่ยนสับท่วงทีหนีไล่
 
เวียนไป

อัปสรฟ้อนส่าย
ฝ่ายฝูงเทวดา
เข้าทอดสนิท
ผูกพัน ผูกพัน สุขเกษม
ได้จังหวะกัน
กรีดกรายออกมา
ทำท่ากางกั้น (ซ้ำ)
ไม่บิดไม่ผัน (ซ้ำ)
ปลื้มเปรม ปลื้มเปรม ปรีดา
 
- ปีพาทย์ทำเพลงยะวาเร็ว -
โอกาสที่ใช้แสดง
เผยแพร่ให้ประชาชนชม



อ้างอิง

ทองหยอด ขนมมงคล ขนมไทยทำเองง่ายๆ สอนทำขนมไทย ทำอาหารง่ายๆ | ครัวพิศพิไล







ทำอาหารง่ายๆ กับครัวพิศพิไล วันนี้ มีเมนูขนมไทย มาฝากกันนะค่ะ นั่นก็คือ ทองหยอด ที่ทำกินเองได้ง่ายๆ ทั้งหวาน ทั้งหอม เพิ่มความหวานให้ชีวิต แต่ใครกลัวอ้วนก็อย่าทานกันเยอะนะค่ะ 555 มาดูส่วนผสมกันเลยนะค่ะ
ส่วนผสม

  • ไข่เป็ด 7 ฟอง
  • ไข่ไก่ 5 ฟอง
  • แป้งข้าวเจ้า 60 g
  • น้ำตาลทราย 1,000 g
  • น้ำสะอาด 1,000 g
  • กลิ่นมะลิ 1 ช้อนชา
  • น้ำเชื่อม สำหรับแช่ขนม ( น้ำตาล 1/2 กิโล กับน้ำ 800 ml )

วิธีทำ

เตรียมชามผสม ตอกไข่ไก่และไข่เป็ด  แยกเอาไข่แดงอย่างเดียว การแยกไข่แดง คือดึงเมือก ดึงสะดือไข่ออกให้หมด แล้วเอามากรองด้วยผ้าขาวบาง ให้ได้ไข่แดงที่เนียนดี
พอกรองไข่แล้ว ก็ตีไข่ให้ฟู โดยใช้ตะกร้อมือหรือตะกร้อไฟฟ้าก็ได้ค่ะ ตีให้ไข่ขึ้นฟู ออกสีนวนๆ เนียนๆดี แล้วค่อยๆ เติมแป้งข้าวเจ้า ( ร่อนด้วยตะแกรงด้วยนะค่ะ ) แล้วใช้พายตะล่อมแป้งให้เข้ากัน แล้วเทใส่ถ้วยแบ่งเอาไว้ เวลาหยอดจะสะดวกกว่าชามอันใหญ่ค่ะ
ต้มน้ำสะอาดให้เดือด ใส่น้ำตาลทราย แล้วรอให้เดือด ถ้าเป็นน้ำเชื่อมที่ทำใหม่จะเป็นฟองยากนะค่ะ ควรนำน้ำเชื่อมเก่าจากการขนมครั้งที่แล้วมาผสมด้วยจะทำให้เดือดฟูง่ายขึ้นค่ะ โดยจะทำน้ำเชื่อมสองหม้อ หม้อแรกจะพักไว้ให้เย็นก่อน(เป็นน้ำเชื่อมหล่อเย็น ) เพื่อเอาไว้หล่อขนมทองหยอดค่ะ ส่วนอีกหนึ่งหม้อจะตั้งบนเตาเพื่อต้มให้ขนมทองหยอดสุก และใส่กลิ่นมะลิทั้งสองหม้อเพื่อให้ขนมหอม และไม่คาวไข่ค่ะ
ใช้ช้อนทุบด้านข้างให้งอเข้าหากัน หรือจะใช้หางช้อนตักก็ได้ค่ะ ขนาดของลูกทองหยอดจะเท่าที่เราตัก เล็กใหญ่ตามชอบค่ะ หลังจากนั้นให้หยอดไข่ที่เราเตรียมเอาไว้ โดยหยอดลงในน้ำเช่ือมที่ร้อนจัดเป็นฟองฟูอยู่ เพื่อให้ขนมอยู่ทรงไม่แบนเกินไป  ต้มนานประมาณ 2-3 นาที ให้เติมน้ำสะอาดลงไปในหม้อถ้าเราจะดูตัวขนมว่าได้ที่หรือยัง ถ้าได้ที่แล้ว ตักออกไปแช่ในน้ำเชื่อมหล่อเย็น
แช่ประมาณ 3-4 นาที ถ้าดูให้ขนมอิ่มน้ำเชื่อม ขนมจมลงน้ำเชื่อม ก็เป็นอันใช้ได้ค่ะ แล้วก็ตักออกพักไว้ก่อน และก่อนจะหยอดขนมรอบต่อไป ควรให้ตักเศษไข่ในรอบที่แล้วออกให้หมดก่อนค่ะ ขนมทองหยอดที่เสร็จแล้วเอามาจัดใส่จาน แช่ตู้เย็น เย็นๆ จะทำให้ยิ่งอร่อยมากขึ้นนะค่ะ




อ้างอิง

https://www.youtube.com/watch?v=rYgyjYZnxak


https://kruapitpilai.com/2987/


ปลั๊กไฟต่อได้แบบเลโก้ แถมหมุนได้ 360 องศา


ปลั๊กไฟต่อได้แบบเลโก้ แถมหมุนได้ 360 องศา


ไอเดียจาก iUrban วันนี้จะช่วยให้เพื่อนๆหมดปัญหากับการหาช่องเสียบปลั๊กไฟด้วย Lego Sockets เต้ารับเสียบปลั๊กไฟที่สามารถหมุนได้360องศา
Let’s Play Lego Sockets 7 -เคยไหมที่ปลั๊กสามตาที่บ้านไม่สามารถใช้เสียบปลั๊กได้ทุกช่องในเวลาเดียวกันแบบนี้Let’s Play Lego Sockets 8 -วันนี้ได้มีดีไซนเนอร์นามว่า Cheng-Hsiu Du & Chyun-Chau Lin หาวิธีแก้ไขปัญหาดังกล่าวเหล่านั้นให้กับเราด้วยการทำให้ปลั๊กสามตาหรือเต้ารับที่สามารถหมุนได้รอบทิศทางแบบ 360องศาLet’s Play Lego Sockets 9 -Let’s Play Lego Sockets 10 -ไม่เพียงเท่านั้นตัวเต้ารับจะมีลักษณะคล้ายตัวต่อเลโก้ที่มีหลากหลายสีและถอดสลับสีไปมาขึ้นอยู่กับความต้องการใช้งานของแต่ละบุคคล เป็นไอเดียที่น่าสนใจไม่น้อยเลยทีเดียวนะคะ




อ้างอิง

https://tech.mthai.com/it-news/43796.html


https://www.iurban.in.th/design/lets-play-lego-sockets/